Search

ศึกอิหร่าน-สหรัฐฯ สู่สงครามไซเบอร์ - ไทยรัฐ

humanrightsmiddleeast.blogspot.com

เหตุเมื่อช่วงต้นปี “เพนตากอน” ยอมรับว่า มีนายทหารอเมริกันประจำอิรัก บาดเจ็บ 34 นาย โดย 17 นายกลับปฏิบัติหน้าที่แล้ว ส่วนที่เหลือยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทหาร ประเทศเยอรมนี มี 8 นาย อาการสาหัส ทำให้ “โดนัลด์ ทรัมป์” ประกาศคว่ำบาตรกับรัฐบาลอิหร่าน เพื่อตอบโต้การใช้ขีปนาวุธโจมตีฐานทัพสหรัฐฯในอิรัก

แม้ไม่มีการเผชิญหน้าทางทหารกัน แต่ในหลายพื้นที่ของตะวันออกกลางก็เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างพันธมิตรของอิหร่านและสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องจับตาความขัดแย้งนี้กันต่อไป

ความตึงเครียดของสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ว่านี้ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผอ.ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่า หากย้อนไปตรงจุดเริ่มต้นเป้าหมายการลอบสังหารครั้งนี้ภายใต้ “โดนัลด์ ทรัมป์” กำลังมองว่า “โซไลมานี” เป็นบุคคลอันตราย ที่ทรงอิทธิพลสูงกว่าผู้นำอิหร่านด้วยซ้ำ

ด้วยมีบทบาททางการทูตของอิหร่าน ในการขยายอิทธิพลเข้าสู่ดินแดนหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทั้งซีเรีย เลบานอน อิรัก เยเมน รวมถึงขยายอิทธิพลไปถึงบาห์เรนด้วยซ้ำ เพราะประชากรร้อยละ 70 ของประเทศคือ ประชากรชีอะห์

อีกทั้งยังมีบทบาทเชื่อมโยงกลุ่มติดอาวุธชีอะห์ และกลุ่มติดอาวุธท้องถิ่นอื่นในหลายประเทศของตะวันออกกลาง มีเป้าหมายสำคัญ...“การโจมตีผลประโยชน์ หรือต่อต้านทำลายทหารของสหรัฐฯ”

ในสายตาของสหรัฐฯ “โซไลมานี” คือ “ผู้ก่อการร้าย” แต่สำหรับ “อิหร่าน”...บุคคลนี้คือ “วีรบุรุษของชาติ” เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่แปลกใจ ว่า...“สหรัฐฯ” เห็นควรต้องจัดการกับบุคคลนี้ เพื่อไม่ให้ “อิหร่าน” มีอำนาจต่อรอง...สามารถขยายอิทธิพลท้าทายอำนาจสหรัฐฯต่อไปได้อีก...

แต่ก็มีความเชื่อว่าความขัดแย้ง “อิหร่านและสหรัฐฯ” จะไม่ลุกลามเป็น “สงครามในภูมิภาค” บานปลายเป็น “สงครามโลกครั้งที่ 3” เพราะท่าทีชาติมหาอำนาจพันธมิตรต่างๆของฝ่ายอิหร่าน เช่น จีน รัสเซีย มีท่าทีไม่ต้องการเห็นความขัดแย้งนี้กลายเป็นสงคราม...ส่วนพันธมิตรฝ่ายสหรัฐฯ ในกลุ่มประเทศยุโรป ก็มีท่าทีไม่สนับสนุนการกระทำครั้งนี้ของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ทำให้บทบาทล่าสุดของตัวแทนพันธมิตรของชาติมหาอำนาจนี้ ต่างต้องการให้ใช้หลักทางการทูต ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ ที่ต้องการเห็นความสงบเกิดขึ้น

โดยเฉพาะประเทศจีน ไม่อยากเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลาง เพราะมุ่งทำธุรกิจค้าขายน้ำมัน เพื่อพัฒนาประเทศตัวเอง นำไปสู่การเป็นมหาอำนาจเทียบขั้นกับสหรัฐฯให้ได้ ดังนั้น “จีน” ต้องการเวลา “ฟักตัว” ทำให้ไม่ต้องการทำสงครามใหญ่ และเผชิญหน้ากับสหรัฐฯโดยตรงเช่นกัน

เมื่อไม่มีประเทศมหาอำนาจฝ่ายใดต้องการความรุนแรง สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความขัดแย้งนี้ยังไม่ครบองค์ประกอบก่อสงครามได้ เพราะปัจจัยสำคัญคือ ประเทศมหาอำนาจต้องมีการจับขั้วอำนาจกัน และ “แบ็กอัป” ให้ประเทศอื่นทำสงครามกับอีกฝ่ายหนึ่ง แต่วันนี้ยังไม่เห็นสัญญาณตรงนั้น

อีกมุม...ในประเทศสหรัฐฯกำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ทำให้...สังคมสหรัฐฯขุดคุ้ยเรื่องราวเชิงลบของ “โดนัลด์ ทรัมป์” นำไปสู่คะแนนเสียงลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงหันมาทำการเมืองยุคเก่าด้วยการดึงความขัดแย้งนี้มาใช้เบี่ยงเบนประเด็นความสนใจ แต่สุดท้ายก็ไม่ยอมให้เกิดสงครามแน่นอน เพราะกระทบต่อคะแนนนิยม

และการทำสงครามครั้งนี้...อาจส่งกระทบต่อผลประโยชน์มากมาย ในภูมิภาคตะวันออกกลางด้วย แต่อย่าวางใจ “โดนัลด์ ทรัมป์” เพราะมักคิดต่างจากประธานาธิบดีสหรัฐฯคนอื่น เช่น ประกาศให้นครเยรูซาเล็ม เป็นเมืองหลวงของอิสราเอล หรือคว่ำบาตรประเทศมุสลิม ไม่ให้เดินทางเข้าสหรัฐฯ จนมาสั่งสังหารบุคคลสำคัญของอิหร่านนี้

ประเด็นน่าสนใจ...ไม่ว่าในเหตุการณ์ลอบสังหาร “โซไลมานี” ซึ่ง “สหรัฐฯ” กำลังยกระดับการโจมตีเป้าหมาย นับจากเหตุ 9/11 ประกาศทำสงคราม “กลุ่มก่อการร้าย” มีเป้าหมายการสังหารเฉพาะผู้อยู่ในเครือข่ายก่อการร้าย หรือบรรดาหัวหน้าฝ่ายก่อการร้าย เช่น ผู้นำไอซิส อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ที่ไม่ใช่ผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ

ในวันนี้ “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้ยกระดับใช้ความรุนแรง นามของสหรัฐฯ ลักลอบสังหารข้าราชการระดับสูงของประเทศหนึ่ง ลักษณะพุ่งไปยังผู้นำประเทศอื่น ที่ไม่เคยมีผู้นำประเทศใดกระทำเช่นนี้มาก่อน ในโลกอนาคต...สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การก่อสงคราม เผชิญหน้ากันได้ง่าย ในรูปแบบไร้ทิศทางการรบ

ทว่า...สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ “อิหร่าน” มองว่า “สหรัฐฯ” ใช้กองทัพในตะวันออกกลาง มีเป้าหมายท้าทายอำนาจ...หรือพยายามล้มอำนาจระบอบการปกครอง ทำให้ “อิหร่าน” ต้องปกป้องตัวเองใน 3 แบบคือ รูปแบบที่หนึ่ง...ด้วยการรบรูปแบบ “สงครามอสมมาตร” จากกลุ่มกองกำลังติดอาวุธพันธมิตรในพื้นที่ต่างๆต่อสู้กับสหรัฐฯ

รูปแบบที่สอง...ใช้พันธมิตรระดับประเทศต่างๆ เพื่อผลักดันออกจากภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ในตอนนี้สภาฯอิรักมีมติผลักดันกองทัพสหรัฐฯออกจากประเทศทั้งหมด

สิ่งที่น่าจับตารูปแบบที่สาม...“การโจมตีทางไซเบอร์” มุ่งทำลายผลประโยชน์สหรัฐฯ ที่เรียกว่า...“ไซเบอร์ แอตแท็ก” เพราะ “อิหร่าน” รู้ดีว่า...ไม่มีศักยภาพทางทหาร หรือยุทโธปกรณ์ต่อกรสหรัฐฯได้ จึงใช้ ไซเบอร์ แอตแท็ก ที่เริ่มโจมตีไปแล้ว พร้อมโจมตีด้วยขีปนาวุธในช่วงที่ผ่านมา เพื่อสร้างความเสียหายฐานข้อมูลสหรัฐฯ

เรื่องสำคัญ...“อิหร่าน” มีบุคลากรที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ทำให้เป็นประเทศ มีความก้าวหน้าในตะวันออกกลาง เทียบประเทศในแถบยุโรปด้วยซ้ำ

อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์ ที่บ่มเพาะ “แฮกเกอร์” อิสระ ที่มีฝีมือแฮ็กข้อมูลล้วงความลับหน่วยงานรัฐบาลต่างประเทศ และโจมตีโครงสร้างพื้นฐาน

ย้อนมาที่ประเทศไทย...แม้ความขัดแย้งนี้ไม่มีการตอบโต้ทางทหารกันขึ้น แต่ต้นต่อของความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น...เรื่องนิวเคลียร์ กองกำลังติดอาวุธ หรือสหรัฐฯตั้งใจเปลี่ยนระบอบการปกครองอิหร่าน ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ที่รอวันระเบิดปะทุเกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง

นั่นหมายความว่า...ดินแดนนี้อาจมีก่อการร้ายถี่รุนแรง ดังนั้นย่อมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะวันใด...ที่มีความตึงเครียดรุนแรง จะส่งผลต่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น สิ่งใกล้ตัวมากที่สุดคือ “ราคาน้ำมัน” และ ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยในตะวันออกกลางมากมาย เช่น กระทบต่อการท่องเที่ยว ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจากอ่าวเปอร์เซีย เข้ามาท่องเที่ยว และรักษาพยาบาลในเมืองไทยมากมาย

การวางตัวของ “รัฐบาลไทย” มีความสำคัญ ต้องไม่แสดงออกต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะอาจทำให้ประเทศมีความเสี่ยงตกอยู่ในสถานะถูกใช้เป็นเป้าโจมตีของอีกฝ่าย ดังนั้นต้องมีการวางตัวเป็นกลาง และร่วมกับประชาคมโลกขับเคลื่อนยุติความขัดแย้งนี้ทางการทูตอย่างสันติ

ผลที่เกิดขึ้นในวันนี้อาจสะท้อนปัญหาความขัดแย้งถูกหมักหมมมานาน กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่มีโอกาสเกิดการปะทะกันได้ทุกเมื่อ ทางออกวิกฤตการณ์นี้ต้องลดระดับการ “เผชิญหน้า” หันมาพูดคุย “เจรจา” กันดีที่สุด...จับตาดูกันต่อไปว่า หลังวิกฤติ “โควิด-19” คลี่คลาย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง.




July 21, 2020 at 05:03AM
https://ift.tt/3eOzYu7

ศึกอิหร่าน-สหรัฐฯ สู่สงครามไซเบอร์ - ไทยรัฐ

https://ift.tt/3cJxo7G


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ศึกอิหร่าน-สหรัฐฯ สู่สงครามไซเบอร์ - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.