Search

23 เหตุการณ์ 'ชุมนุม' ตลอด 1 ทศวรรษ มนุษย์ต่อสู้เรื่องอะไรบ้าง? - กรุงเทพธุรกิจ

humanrightsmiddleeast.blogspot.com

ตั้งแต่ปี 2010 ถึง ปี 2020 มีการประท้วงและชุมนุมเรียกร้องเรื่องสำคัญต่างๆ ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อมโลก จนถึงสิทธิเพื่อคนผิวสีและสตรี

159550890985

พฤษภาอำมหิต การประท้วงและสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง

การชุมนุมใหญ่ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. เพื่อเคลื่อนไหวชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา การชุมนุมลุกลามใหญ่โต จนมีการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม ส่วนสำคัญคือการใช้กระสุนจริงจากฝั่งรัฐบาลทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม มากกว่า 90 คน และบาดเจ็บหลักพัน

Arab Spring เหตุการณ์การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐบาลในตะวันออกกลาง

การประท้วงครั้งใหญ่ทั่วโลก และ ยาวนานจนถึงปี 2020 ยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด จุดเริ่มต้นมาจากชาวบ้านจุดไฟเผาตัวเองเพื่อต้องการประท้วงในการทำงานของรัฐบาลประเทศตูนีเซีย การประท้วงลุกลามและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ และทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง อย่างประเทศอียิปต์ ประเทศบาห์เรน ประเทศเยเมน ประเทศซีเรีย รวมถึงแอฟริกาเหนือ ประเทศเยเมน

Student Protest

นักศึกษาในอังกฤษหลายหมื่นคนออกมาประท้วงตามท้องถนนในกรุงลอนดอน หลังมีการขึ้นค่าเทอมเป็น 9,000 ปอนด์ หรือราว 430,000 บาท ขณะเดียวกันก็ตัดงบการสอนของมหาวิทยาลัยร้อยละ 40

การชุมนุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 52,000 ราย โดยมีการเดินขบวนแสดงความไม่พอใจรัฐบาลไปตามท้องถนน และมีส่วนหนึ่งที่เป็นนักศึกษา 200 รายบุกเข้าไปในอาคารมิลล์แบงค์ 30 ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการของพรรคอนุรักษนิยมของอังกฤษ

การประท้วงของนักศึกษาครั้งนี้ ส่งแรงกระเพื่อมต่อนักศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยให้หันมาสนใจเรื่องค่าเทอม และ เกิดการประท้วงต่อๆ กันมาในหลายๆ ประเทศแถบยุโรป

Occupy movement

ตั้งแต่วันที่ 17กันยายน 2554 เป็นต้นมา มีกลุ่มผู้ประท้วงใช้พื้นที่ Zuccotti Park ใกล้เคียง Wall Street ซึ่งเป็นย่านธุรกิจ และหัวใจของนครนิวยอร์ก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของตลาดหุ้น Wall Street โดยผู้ประท้วงเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า Occupy Wall Street โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะประท้วงเรื่อง ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม ความละโมบขององค์กรธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่, การคอร์รัปชัน และการใช้อิทธิพลครอบงำรัฐบาลโดยพวกยักษ์ใหญ่ด้านการเงินและพวก Lobbyists

สโลแกนของผู้ประท้วงครั้งนี้คือ "We are the 99%" และตอกย้ำถึงความแตกต่างระหว่างคนรวยที่สุด 1% ของประเทศ กับประชาชนที่เหลือซึ่งเป็นพวก 99%

ความไม่พอใจส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลโอบามาไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ อัตราการว่างงานที่ยังคงสูงอยู่ถึง 9% และถึงแม้ว่าตัวการที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยคือ พวกสถาบันการเงิน/ธนาคารใหญ่ๆ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้จัดการหามาตรการมาลงโทษ กลับเอาเงินภาษีประชาชนไปอุดหนุนไม่ให้สถาบันพวกนี้ล้ม นโยบายรัฐบาลยังเอื้อประโยชน์ให้คนรวยเหมือนเดิม ไม่ได้ต่างไปจากรัฐบาลรีพับลิกันชุดที่แล้ว ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนกว้างขึ้นทุกที

การชุมนุมประท้วง Occupy Wall Street แพร่กระจายไปยังเมืองต่างๆ ทั่วอเมริกาและทั่วโลกด้วย และยังไม่มีทีท่าจะยุติลงง่ายๆ ซึ่งการประท้วงลักษณะนี้ เป็นเสมือนการปฏิวัติเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ โดยชนชั้นฐานล่างลุกขึ้นมาเรียกร้องความยุติธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถึงเวลาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว

Russian protests การประท้วงการเลือกตั้งรัสเซีย

ผู้คนหลายพันคนได้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในกรุงมอสโกของรัสเซียนับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้คนกว่า 50,000 คนรวมตัวกันบนเกาะใกล้เครมลินเพื่อประณามการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในการเลือกตั้งรัฐสภาและเรียกร้องให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งใหม่ การประท้วงมีการผู้ถูกจับมากกว่า 1000 คน นอกจากจุดชุมนุมหลักแล้วยังมีการชุมนุมขนาดเล็กเกิดขึ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและเมืองอื่น ๆ

Anti-nuclear movement ขบวนการต่อต้านนิวเครียร์

การประท้วงต่อต้านนิวเคลียร์ในเยอรมนีและฝรั่งเศสเกิดขึ้นในวันครบรอบ 25 ปีของภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลในยูเครน โดยจุดเริ่มต้นมาจากการตระหนักถึงความปลอดภัยจากนิวเคลียร์ และอุดมการณ์ของขบวนการต่อต้านแอนตี้นิวเคลียร์นั้นเน้นไปที่สันติภาพและสิ่งแวดล้อม

Arab winter

การประท้วงและความรุนแรงหลังเหตุการณ์ Arab Spring ได้แก่ สงครามกลางเมืองซีเรีย เหตุจลาจลในอีรัก วิกฤตการณ์ในอียิปต์ โดยเป็นคำอธิบายสถานการณ์ความรุนแรงและความผันผวนทางการเมืองที่เลวร้ายลง

May Day protests

เป็นการประท้วงที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยมีข้อตกลงถึงสิทธิแรงงาน และ ชั่วโมงการทำงานต่อวัน ผลพวงมาจากเหตุการณ์ Occupy movement โดยประชาชนเดินออกประท้วงในวันที่ 1 พฤษภาคม การประท้วงเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วยุโรปรวมถึงสตอกโฮล์มมาดริดลอนดอนบรัสเซลส์และเจนีวา รวมถึงขยายไปทั่วโลกและระดับสากลไปยังประเทศอื่น ๆ เช่นแคนาดาอินโดนีเซียและไต้หวัน การประท้วงยังเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการครอบครองเคลื่อนไหวที่อุทิศตนเพื่อประท้วงต่อต้านลัทธิทุนนิยมและการทุจริตของ บริษัท และการค้นหาความเป็นปึกแผ่นภายในสหภาพแรงงานและกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ

2012 China anti-Japanese demonstrations

การประท้วงต่อต้านญี่ปุ่นของประเทศจีนและไต้หวัน สาเหตุหลักของการประท้วงคือการเพิ่มระดับของข้อพิพาทหมู่เกาะเซนกากุ (หมู่เกาะเซนกากุ ในประเทศจีน) ระหว่างจีนและญี่ปุ่น

วิกฤตการณ์การเมืองไทย 2557

เป็นวิกฤตการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 ถึงพฤษภาคม 2557

โดย กปปส. กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองมีอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำ การประท้วงนี้ลงเอยด้วยการรัฐประหาร

เป้าหมายหลักของการประท้วง คือ การขจัดอิทธิพลของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย และการตั้ง "สภาประชาชน" ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดูแลการปฏิรูประบบการเมือง ผู้ประท้วงมองว่า พันตำรวจโททักษิณทุจริตอย่างมากและทำให้ประชาธิปไตยของประเทศไทยเสียหาย

159550858787

2014 Hong Kong protests

เรียกอีกชื่อว่า The Umbrella Movemen การประท้วงชาวฮ่องกงตอบโต้ต่อการตัดสินใจของจีนว่าจะอนุญาตให้มีการเลือกตั้งในฮ่องกงในปี 2560 แต่จากรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้าจากรัฐบาลจีน

คนหลายหมื่นคนซึ่งหลายคนเป็นนักเรียนตั้งค่ายอยู่บนถนนและเรียกร้องสิทธิ์ในการเลือกตั้งผู้นำอย่างเต็มที่

มันถูกเรียกว่า "ขบวนการร่ม" เพราะผู้ประท้วงใช้ร่มเพื่อป้องกันตัวเองจากแก๊สน้ำตาที่ตำรวจใช้

euromaidan

เป็นคลื่นการเดินขบวนที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้พิจารณาข้อตกลงของประเทศกับสหภาพยุโรป

Ni una menos

ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีในอาร์เจนตินา และ แผ่กระจายไปในหลายประเทศแถบลาตินอเมริกา การรณรงค์เริ่มต้นโดยกลุ่มศิลปินหญิงชาวอาร์เจนตินานักข่าวและนักวิชาการ ซึ่งรวมกลุ่มกันเป็นพันธมิตรกองกำลังสตรีแห่งยุโรป โดยการรณรงค์มีความต่อเนื่องและเน้นประเด็นทางเพศหญิง เช่น บทบาททางเพศ การถูกล่วงละเมิด การทำแท้ง สิทธิแรงงาน

159550860532

Hirak Rif Movement

การเคลื่อนไหวประท้วงที่นิยมที่เกิดขึ้นในเบอร์เบอร์ ภูมิภาคในภาคเหนือของโมร็อกโกระหว่างตุลาคม 2016 และมิถุนายน 2017 อันเป็นผลมาจากการตายของคนขายปลาที่ถูกทับอัดจนตายในรถบรรทุกขยะหลังจากกระโดดเข้าด้านหลังหลังจากการยึดสินค้าปลาที่ผิดกฎหมายซึ่งเขาถูกขายในตลาดท้องถิ่นโดยท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่

ขบวนการประท้วงจำนวนมากได้พบกับการปราบปรามอย่างรุนแรงจากระบอบโมร็อกโกพร้อมกับการปะทะกันรุนแรงระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงในเมืองและเมืองต่าง ๆ

Black Lives Matter

การประท้วงทั่วสหรัฐฯ เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมในเหตุการณ์ที่ตำรวจผิวขาวสังหารชายผิวดำที่ไม่มีอาวุธสองเหตุการณ์ด้วยกัน หลังจากลูกขุนใหญ่ของทั้งสองเหตุการณ์ คือเหตุการณ์ที่เมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี่ และเหตุการณ์ที่นครนิวยอร์ก ต่างไม่สั่งฟ้องตำรวจผิวขาว จนก่อให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนผิวสี

ผู้ประท้วงต่างเดินขบวนในหลายเมืองใหญ่ รวมทั้งที่นครนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน นครชิคาโก นครดีทรอยต์ นครลอสแองเจลลีส และนครซีแอตเติล ผู้ประท้วงจำนวนมากต่างนอนลงบนพื้นถนนเส้นสำคัญๆ เพื่อจำลองเหตุการณ์เสียชีวิตของชายผิวดำ 2 คน

ผู้ประท้วงพากันตะโกนคำว่า "Black Lives Matter" หรือชีวิตคนผิวดำก็มีความสำคัญ

Climate Change : The ‘Defend Science’ movement

ความตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องผลกระทบที่มนุษย์ทำจะส่งผลโลกอย่างเป็นรูปธรรมและรุนแรงจนเกิด ‘ความเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ’ หรือภาวะโลกร้อน เป็นกระแสที่กลับมาสนใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ หลังจากรัฐบาลทรัมป์ที่ปฏิเสธประเด็นสิ่งแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศนำไปสู่การเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมของนักวิทยาศาสตร์ มีการออกมาเดินขบวนเพื่อเรียกร้องปกป้องข้อมูลองค์ความรู้จากการวิจัย มีการส่งจดหมายคัดค้านและเรียกร้องให้ทบทวนนโยบายและเห็นความสำคัญว่าโลกนี้กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เราต้องเข้าใจและเตรียมตัวรับมือ

LGBTQ Rights movement

การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็ยังไม่สิ้นสุดลง แถมยังมีกรณีร้ายๆ ที่เกิดขึ้นเพียงเพราะ ‘ความรัก’ … มีการกราดยิงแหล่งท่องเที่ยว และมีรายงานการใช้ความรุนแรงเพียงเพราะรสนิยม กระแสการต่อสู้เพื่อสิทธิและความเท่าเทียมในความหลากหลายทางเพศจึงเป็นกระแสที่ยังต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในระดับความคิดที่พยายามคัดง้างว่าการรักเพศเดียวกันไม่ใช่โรคไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ไปจนถึงการจัดขบวนพาเหรดและการรณรงค์เรื่องสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม เช่นสิทธิในการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน การต่อสู้เรื่องความหลากหลายทางเพศนี้เป็นการต่อสู้กันอย่างยาวนานและยังคงต้องต่อสู้กันต่อไป กับอคติและการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมเรื่องความปกติและความผิดปกติของความรัก

Women’ s Rights movement

ประเด็นเรื่องเฟมินิสต์ ความเท่าเทียมของผู้หญิงดูจะเป็นการต่อสู้ที่แสนยาวนานและยังคงต้องต่อสู้กันต่อไป หนึ่งในกระแสสำคัญก็คือการหาเสียงของ ฮิลลารี คลินตัน ที่จุดประเด็นเรื่อง The glass ceiling หรือเพดานที่มากั้นผู้หญิงจากความก้าวหน้าและการไต่เต้าทางอาชีพ สุดท้ายเราก็ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องความเสมอภาคและการยอมรับความสามารถของผู้หญิง เช่นในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็มีการพูดถึงข้อจำกัดที่ผู้หญิงไม่สามารถก้าวหน้าทางอาชีพได้ดีเท่าผู้ชาย หรือในวงการฮอลลีวูดเอง คำว่าเฟมินิสต์ก็ดูจะเป็นคำที่ผู้หญิงแกร่งๆ หลายคนพูดถึงและพยายามผลักดันกันอยู่เสมอ

159550865224

School strike for the climate

การนัดหยุดเรียนเพื่อสภาพอากาศโลกในชื่อ Fridays for Future เริ่มต้นจากนักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน

Greta Thunberg ซึ่งขณะนั้นศึกษาอยู่ในชั้นเกรด 9 (เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 3) ตัดสินใจไม่เข้าเรียนจนกระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศสวีเดนปี 2561 ในวันที่ 9 กันยายนหลังเกิดคลื่นความร้อนและไฟป่าหลายระลอกในประเทศ เธอกล่าวว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจากนักกิจกรรมวัยรุ่น ณ โรงเรียนมาร์จอรี สโตนแมน ดักลาสในปาร์กแลนด์ รัฐฟลอริดา ซึ่งจัดการเดินขบวนเพื่อชีวิตของเรา (March for Our Lives) ประท้วงโดยนั่งอยู่นอกรัฐสภาทุกวันระหว่างชั่วโมงเรียนพร้อมป้ายเขียนว่า "Skolstrejk för klimatet" (การนัดหยุดเรียนเพื่อภูมิอากาศ)

ในบรรดาข้อเรียกร้องของเธอให้รัฐบาลสวีเดนลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ วันที่ 7 กันยายน ก่อนการเลือกตั้งเล็กน้อย เธอประกาศว่าเธอจะนัดหยุดเรียนทุกวันศุกร์จนประเทศสวีเดนปฏิบัติตามความตกลงปารีส เธอประดิษฐ์คำขวัญ วันศุกร์เพื่ออนาคต ซึ่งได้รับความสนใจจากทั่วโลก เธอเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนทั่วโลกเข้าร่วมการนัดหยุดเรียนดังกล่าว

Hongkong protests

การประท้วงของคนฮ่องกงต่อกฎหมายที่อาจทำให้ประชาชนเห็นว่ามีการพยายามหรือถูกนำตัวขึ้นศาลในข้อหาอาชญากรรมทางการเมืองในจีน

แม้ว่ากฎหมายจะถูกยกเลิก แต่การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในประเด็นต่างๆ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในฮ่องกง

Feminist protest in Mexico

การประท้วงเพื่อผู้หญิงในแม็กซิโก จากการสวมผ้าปิดตาและ ร้องเพลงเต้นรำเพื่อประท้วงการเพิ่มความรุนแรงต่อผู้หญิงหลายทศวรรษ โดยชนวนเกิดจากในเดือนสิงหาคมตำรวจหญิงสองคนถูกข่มขืนโดยตำรวจด้วยกันเอง และ ไม่ได้รับความชอบธรรมในการสอบสวน

159550867541

ผ่านมาแล้วครึ่งปีสำหรับปี 2020 ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทั่วโลกถูกแช่แข็งจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อต้นปีก็มีเหตุการณ์ประท้วงสำคัญเช่นกัน

black live matter : George Floyd

การประท้วงเพื่อคนผิวสีกลับมาอีกครั้ง การประท้วงต่อต้านการเหยียดผิวในสหรัฐ ชนวนเหตุมาจากมรณกรรมของชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันนาม “จอร์จ ฟลอยด์”

จอร์จ ฟลอยด์ เสียชีวิตขณะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมินนีแอโปลิส รัฐมินนิโซตา 4 นาย ใช้กำลังควบคุมตัวเนื่องจากต้องสงสัยว่าเขาครอบครองและใช้เงินดอลลาร์ปลอม โดย ดีเรค โชฟวิน ตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดคอ จอร์จ ฟลอยด์ นานเกือบ 9 นาที จนเขาขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตในเวลาต่อมา การกระทำของตำรวจนายดังกล่าว (ซึ่งถูกไล่ออกจากราชการพร้อมกับเพื่อนตำรวจอีก 3 นายไปแล้ว) กลายเป็นชนวนเหตุให้เหล่าอเมริกันชนออกมาเรียกร้องต่อต้านความอยุติธรรมและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม "คนผิวสี" อีกครั้ง ภายใต้การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Black Lives Matter ที่แปลว่า ชีวิตคนผิวดำก็สำคัญ

การประท้วงครั้งนี้ขยายไปไกลถึงนิวซีแลนด์ และในหลายๆ ประเทศ ประชาชนหลายพันคนออกมาเดินขบวนและเกิดความรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง การประท้วง black live matter 2020 เริ่มซา และกระแสค่อยๆ เริ่มหายไปในเดือนมิถุนายน

เยาวชนปลดแอก

การชุมนุม #เยาวชนปลดเเอก เริ่มขึ้นตั้งแต่ 17.00 น. ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 ณ บริเวณ "อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" โดยมีวัตถุประสงค์การชุมนุม 3 ข้อคือ "เลิกคุกคามประชาชน ยุบสภา และ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่”

บรรยากาศการชุมนุมเต็มไปด้วยบรรดาผู้คนสวมเสื้อสีดำ เพื่อสื่อถึงการไว้อาลัยแด่ "ประชาธิปไตย" มีการปราศรัยเป็นระยะโดยแกนนำยังประกาศจะพักค้างคืนอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมทั้งเชิญชวนเหล่าผู้ชุมนุม และ ติด #นอนเฝ้าประชาธิปไตย เพื่อรอดูการตอบรับข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อจากรัฐบาลภายใน 2 อาทิตย์ หากยังไม่มีการตอบรับใดๆ แกนนำจะยกระดับการชุมนุมเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้การชุมนุมเยาวชนปลดแอก ถือเป็นชุมนุมครั้งใหญ่ตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย นอกจากนี้การชุมนุมยังเริ่มกระจายไปตามจังหวัดต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ #เชียงใหม่จะไม่ทนtoo มมส. มหาสารคาม #อีสานสิบ่ทน อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี สมุทรปราการ แพร่ สถานการณ์การชุมนุมจึงยังต้องดูความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง




July 24, 2020 at 11:00AM
https://ift.tt/2OOMTBC

23 เหตุการณ์ 'ชุมนุม' ตลอด 1 ทศวรรษ มนุษย์ต่อสู้เรื่องอะไรบ้าง? - กรุงเทพธุรกิจ

https://ift.tt/3cJxo7G


Bagikan Berita Ini

0 Response to "23 เหตุการณ์ 'ชุมนุม' ตลอด 1 ทศวรรษ มนุษย์ต่อสู้เรื่องอะไรบ้าง? - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.